เมนู

ปัญญาเสมอแผ่นดิน ทรงปรารภกายนี้แล้ว
แสดงไว้ เธอทั้งหลาย จงดูรูปที่เขาทิ้งแล้วเถิด.
อายุ ไออุ่น และวิญญาณ ละกายนี้ไปเมื่อใด เมื่อ
นั้นกายนี้จะถูกเขาทอดทิ้ง นอนอยู่ ไม่มีจิตใจ
เป็นเหยื่อของสัตว์. การสืบเนื่องกันนี้เป็นเช่นนี้
นี้เป็นมายากล ที่คนโง่พร่ำเพ้อถึง ขันธ์ เรา
ตถาคตกล่าวว่า เป็นเพชฌฆาต ตนหนึ่ง สาระใน
เบญจขันธ์นี้ไม่มี ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว
มีสติ สัมปชัญญะ พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลาย
อย่างนี้ ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน. ภิกษุเมื่อ
ปรารถนา อจุติบท (นิพพาน) พึงละสังโยชน์
ทั้งปวง ทำที่พึ่งแก่ตน ประพฤติดุจบุคคลผู้มี
ไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น ดังนี้.

จบ เผณปิณฑสูตรที่ 3

อรรถกถาเผณปิณฑสูตรที่ 3



พึงทราบวินิจฉัย ในเผณปิฌฑสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า คงฺคาย นทิยา ตีเร1 ความว่า พวกชาวเมืองอโยธยา
เห็นพระตถาคตมีภิกษุจำนวนมากเป็นบริวาร เสด็จเที่ยวจาริกมาถึง

1. ปาฐะว่า คงฺคาย นทิยา ตีเร ฉบับพม่าเป็น คงฺคาย นทิยา ตีเรติ แปลตามฉบับพม่า.

เมืองของตน จึงได้ช่วยกันสร้างวัด ถวายพระศาสดาใน (ภูมิ) ประเทศ
ที่เดียรดาษไปด้วยไพรสณฑ์ใหญ่ ตรงที่แห่งหนึ่ง ซึ่งมีแม่น้ำคงคาไหลวน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในวิหารนั้น พระสังคีติกาจารย์ หมายเอา
วิหารนั้น จึงกล่าวว่า คงฺคาย นทิยา ตีเร
ดังนี้.
บทว่า ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ความว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าประทับอยู่ในวิหารนั้น เวลาเย็นเสด็จออกจากพระคันธกุฏี
ไปประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่ชาวเมืองจัดถวายไว้ ณ ริมฝั่ง
แม่น้ำคงคา ทอดพระเนตรเห็นฟองน้ำใหญ่ลอยมาในแม่น้ำคงคา
จึงทรงดำริว่า เราจักกล่าวธรรมข้อหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับเบญจขันธ์
ในศาสนาของเราดังนี้ แล้วได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายผู้นั่งแวดล้อมอยู่1.
บทว่า มหนฺตํ เผณปิณฺฑํ ความว่า ฟองน้ำเริ่มตั้งแต่มีขนาด
เท่าผลพุทราและล้อรถในคราวแรกก่อตัว ๆ แล้ว เมื่อถูกกระแสน้ำ
พัดพาไปก็ก่อตัวใหญ่ขึ้นตามลำดับ จนมีขนาดเท่ายอดภูเขา ซึ่งสัตว์
เป็นจำนวนมากมีงูน้ำเป็นต้นอาศัยอยู่ ได้แก่ ฟองน้ำที่ใหญ่ถึงปานนี้.
บทว่า อาวเหยฺย แปลว่า พึงนำมา.
ก็ฟองน้ำนี้นั้น ย่อมสลายตัวไปตรงที่ที่ก่อตัวบ้าง ลอยไปได้
หน่อยหนึ่งจึงสลายตัวบ้าง ลอยไปได้ไกลเป็นโยชน์หนึ่งสองโยชน์เป็นต้น
แล้วจึงสลายตัวบ้าง แต่ถึงแม้จะไม่สลายตัว ในระหว่างทางถึงทะเลหลวง
แล้วก็ย่อมสลายตัวเป็นแน่แท้ทีเดียว.
บทว่า นิชฺฌาเยยฺย แปลว่า พึงจ้องดู.
บทว่า โยนิโส อุปปริกฺเขยฺย แปลว่า พึงตรวจดูตามเหตุ.
1. ปาฐะว่า ปวาเรตุวา ฉบับพม่าเป็น ปริวาเรตุวา แปลตามฉบับพม่า.

บทว่า กิญฺหิ สิยา ภิกฺขเว เผณปิณฺเฑ สาโร ความว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ในฟองน้ำจะพึงมีสาระได้อย่างไร ? ฟองน้ำจะ
พึงย่อยยับสลายตัวไปถ่ายเดียว.

รูป


บทว่า เอวเมว โข ความว่า ฟองน้ำไม่มีสาระ (แก่น) ฉันใด
แม้รูปก็ไม่มีสาระฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเว้นจากสาระคือเที่ยง สาระ
คือยั่งยืนและสาระคืออัตตา.
เปรียบเหมือนว่า ฟองน้ำนั้นใคร ๆ ไม่สามารถจะจับเอาด้วย
ความประสงค์ว่า เราจักเอาฟองน้ำนี้ทำภาชนะหรือถาด แม้จับแล้ว
ก็ไม่ให้สำเร็จประโยชน์นั้นได้ ย่อมสลายตัวทันทีฉันใด แม้รูปก็ฉันนั้น
ใคร ๆ ไม่สามารถยึดถือได้ว่า เราหรือของเรา แม้ยึดถือแล้วก็คงอยู่
อย่างนั้นไม่ได้ ย่อมเป็นเช่นกับฟองน้ำอย่างนี้ทีเดียว คือ ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่สวยงามเอาเลย.
อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนว่า ฟองน้ำมีช่องเล็กช่องน้อยพรุนไป
เชื่อมต่อด้วยที่ต่อหลายแห่ง เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์จำนวนมากมีงูน้ำ
เป็นต้น ฉันใด แม้รูปก็ฉันนั้นมีช่องเล็กช่องน้อย พรุนไป เชื่อมต่อด้วย
ที่ต่อหลายแห่ง ในรูปนี้หมู่หนอน 80 เหล่า อาศัยอยู่กันเป็นตระกูล
ทีเดียว รูปนั้นนั่นแล เป็นทั้งเรือนเกิด เป็นทั้งส้วม เป็นทั้งโรงพยาบาล
เป็นทั้งป่าช้าของหมู่หนอนเหล่านั้น หมู่หนอนเหล่านั้นย่อมไม่ไปทำกิจ
ทั้งหลายมีคลอดลูกเป็นต้นในที่อื่น รูปเป็นเหมือนฟองน้ำด้วยอาการ
อย่างนี้บ้าง.
อนึ่ง เปรียบเหมือนว่าฟองน้ำแต่แรกก็มีขนาดเท่าผลพุทรา